ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว โลมา วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย
ชื่อไทย
เข็ม
ชื่อสามัญ
HALF-BEAK, WRESTLING HALF-BEAK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dermogenus pusillus
ถิ่นอาศัย
พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป
อาหาร
กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ ลูกน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
ประโยชน์
เลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้
ชื่อไทย
ก้างพระร่วง
ชื่อสามัญ
GLASS SHEATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Kryptopterus bicirrhis
ถิ่นอาศัย
พบตามแหล่งน้ำไหล บริเวณแนวร่มไม้ชายน้ำ ในภาคกลางพบที่จังหวัดนครนายก จันทบุรีและตราด ทางปักษ์ใต้พบที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี
อาหาร
หากินรวมกันเป็นฝูง กินแมลง ตัวอ่อนแมลง ลูกน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวไม่เกิน 15 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพราะเป็นปลาที่รักสงบไม่รบกวนปลาชนิดอื่นที่เลี้ยงอยู่ร่วมกัน
ชื่อสามัญ
GLASS SHEATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Kryptopterus bicirrhis
ถิ่นอาศัย
พบตามแหล่งน้ำไหล บริเวณแนวร่มไม้ชายน้ำ ในภาคกลางพบที่จังหวัดนครนายก จันทบุรีและตราด ทางปักษ์ใต้พบที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี
อาหาร
หากินรวมกันเป็นฝูง กินแมลง ตัวอ่อนแมลง ลูกน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวไม่เกิน 15 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพราะเป็นปลาที่รักสงบไม่รบกวนปลาชนิดอื่นที่เลี้ยงอยู่ร่วมกัน
ชื่อไทย
ม้า, กวาง
ชื่อสามัญ
SOLDIER CROAKER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nibea soldado
ถิ่นอาศัย
แหล่งน้ำจืดพบมาก แม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนนนทบุรีจนถึงชัยนาท ภาคอีสานจับได้เป็นจำนวนมากจากแม่น้ำโขงเรียกกันว่า ปลากวาง
อาหาร
สัตว์ต่าง ๆ
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-60 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี ถุงลมนำไปตากแห้งสำหรับทอดหรือต้มตุ๋นเป็นอาหาร ที่เราเรียกกันว่า กระเพาะปลา และทำเป็นการที่เรียกกว่า ไอชิงกลาส
ชื่อไทย
กระมัง, มัง, วี, เลียม, เหลี่ยม, แพะ, สะกาง
ชื่อสามัญ
SMITH'S BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntioplites proctozsron (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม
อาหาร
พืชพันธุ์ไม้น้ำ อินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย
ขนาด
ความยาวประมาณ 13-15 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวประมาณ 22-22.5 เซนติเมตร
ประโยชน์
ปลากระมังใช้เป็นอาหารได้ทั้งสดและตากแห้ง
ชื่อไทย
กระทิงไฟ, กระทิงลายดอกไม้
ชื่อสามัญ
FIRE SPINY EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mastacembelus erythrotaenia Bleeker
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ในบริเวณน้ำจืดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากระทิงลายดอกไม้
อาหาร
เช่นเดียวกับปลากระทิงดำ
ขนาด
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวถึง 1 เมตร
ประโยชน์
เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
ชื่อไทย
แป้น, กระจก
ชื่อสามัญ
SIAMESE GLASSFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chanda siamensis
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองพบมากที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ชาวบ้านในแถบกาญจนบุรีและราชบุรีเรียกปลาแป้น แต่ชาวบ้านแถบแม่น้ำเจ้าพระยาและบึงบอระเพ็ดเรียกว่าปลาข้าวเม่า ส่วนชื่อปลากระจกเป็นชื่อที่เรียกกันในหมู่พ่อค้าส่งปลาไปจำหน่ายต่างประเทศ
อาหาร
กินจุลินทรีย์และตัวอ่อนของแมลงน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
ประโยชน์
นำมาเลี้ยงเป็นปลาสวย